Monday , 29 April 2024 / 04 : 23 : 19
Home   |   Sitemap   |   Contact us

gallery
        สร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ที่มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรม และขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout เพื่อสนับสนุนความรักความสามัคคีภายในชาติ เฝ้าระวังและสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสังคมไทย
         Creating Cyber Scout Volunteer who realizes the morality and extending Cyber Scout Volunteer for supporting the unity in Thailand and watching out all dangerous behavior.
.
100Schools 100Schools download
 
 
 
ข้อควรรู้ของศัพท์เทคนิคทางคอมพิวเตอร์ Part I
ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์บทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยบางครั้งยังงงกับคำศัพท์อยู่มาก ซึ่งเป็นศัพท์เทคนิคทั้งนั้น จึงนำคำศัพท์เหล่านี้

 

1. IEEE 802.11  คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้กำหนดขึ้นโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE)  เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้มีการกำหนดรูปแบบความเร็วโดยเพิ่มตัวอักษรต่อท้ายตามหลัง IEEE 802.11 ซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยมาตรฐานหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักกัน คือ 802.11a ,802.11b ,802.11e , 802.11g และ 802.11 I เป็นต้น

2.3GPP  เป็นชื่อกลุ่มองค์กรที่จัดเตรียมมาตรฐานของ 3G

3. Antenna  สายอากาศ อุปกรณ์สำหรับรับและส่งคลื่น ความถี่วิทยุ (radio frequency) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และในทางกลับกัน ก็เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน

สายอากาศมีหลายขนาดและรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น สายอากาศสำหรับเครื่องรับโทรทัศน์ในบ้าน ส่วนใหญ่เป็นสายอากาศชนิด ยากิ-อุดะ มักติดตั้งไว้บนหลังคา ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะน้ำหนักเบาและทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่าโลหะทั่วไป สายอากาศของไมค์ลอย เป็นเพียงสายไฟสั้นๆ หรือสายอากาศของโทรศัพท์มือถือ เป็นเพียงจุดเชื่อมต่อเล็กๆ เท่านั้น

คำว่าสายอากาศ เป็นศัพท์เฉพาะด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บัญญัติขึ้นจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ “antenna” หรือ “aerial” ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์อาจเขียนอักษรย่อ Ant. อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปนิยมเรียกว่า เสาอากาศ อาจจะเป็นเพราะเดิมใช้เสาสูงๆ สำหรับติดตั้งสายอากาศนั่นเอง

สายอากาศแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งคลื่นได้ดังนี้

สายอากาศแบบรอบตัว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทุกทิศทางเฉลี่ยกันไปโดยรอบ

สายอากาศแบบกึ่งรอบตัว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีเกือบรอบตัวแต่มีอัตราขยายสูงกว่าแบบรอบตัว

สายอากาศแบบทิศทางเดียว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทิศทางที่กำหนดและจะมีอัตราขยาย (gain) สูงกว่าประเภทอื่น

4. Bandwidth  แบนด์วิดท์ เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้ Data ผ่าน 3G ของ TrueMove สามารถใช้งานได้สูงสุด 7.2 Mbps (Megabit per second) เป็นต้น

5. Base Station (BTS)  สถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่

6. Base Station Controller (BSC)  ตัวควบคุมสถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ หลายๆ BTS

7. bit  บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ

8. GPRS (General Packet Radio Service)  จีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล

9.GPS (Global Positioning System) ระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณจากสัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้

10. HDMI ระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง(HDMI – High-Definition Multimedia Interface) เป็นมาตรฐานหนึ่งของการส่งสัญญาณภาพแบบไม่ถูกบีบอัด (Uncompressed) เสียงระบบรอบทิศทาง และข้อมูลอื่นๆ ในสายสัญญาณเส้นเดียว ซึ่งเป็นระบบที่ให้คุณภาพสูงที่สุดในขณะนี้ ถูกคิดค้นโดยการร่วมมือของ โซนี่, ฮิตาชิ, ทอมสัน(อาซีเอ), ฟิลลิปส์, มัตสุชิตะ(พานาโซนิค), โตชิบา และ ซิลิคอน อิมเมจ เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549

11. IP Address    คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร

ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org

0 (ปิด)

1 (เปิด)

1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต

1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต

1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต

1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต

12.IrDA (Infrared Data Association) ระบบการรับส่งข้อมุลผ่านลำแสงอินฟราเรด

13.ISP (Internet Service Provider)  ผู้ให้บริการด้าน Internet

14.Microcell  คือรูปแบบของเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ที่รองรับการใช้งานภายในพื้นที่จำกัดเช่น ตึก , ศูนย์แสดงสินค้า , โรงแรม ซึ่ง Microcell จะใหญ่กว่า Picocell โดยทั่วไป Microcell จะมีรัศมีครอบคลุมการใช้งานไม่เกิน 1.6 กิโลเมตร

15. Protocol   หรือชื่อไทยว่า เกณฑ์วิธีการสื่อสาร หรือ เกณฑ์วิธีข่ายงาน คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้

16. PTT (Push-to-Talk) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการสื่อสารเฉพาะกลุ่มผ่านระบบ GPRS , EDGE ลักษณะคล้ายกับการสื่อสารผ่านวิทยุรับส่งของตำรวจ

5. Bittorrent  เครือข่ายของการใช้โปรแกรมบิตทอร์เรนต์นั้นเป็นลักษณะโยงใยถึงกันหมด ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับส่งไฟล์ถึงกันได้ตลอดเวลา ซึ่งทุกเครื่องจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ เมื่อไฟล์เริ่มต้นเผยแพร่มาจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เครื่องอื่นๆ ที่ต้องการไฟล์ (หรือผู้ที่รอโหลดอยู่นั่นเอง) ก็จะค่อยๆ ได้รับชิ้นส่วนไฟล์ไปทีละชิ้นทีละชิ้นแบบสุ่ม เหมือนภาพต่อจิ๊กซอว์ ทันทีที่ได้รับชิ้นส่วนไฟล์มา คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถส่งต่อชิ้นส่วนไฟล์ที่ได้รับมาแล้วให้ เครื่องอื่นที่ยังไม่มีได้ทันที ไม่ต้องรอให้ตัวเองได้ชิ้นส่วนไฟล์จนครบ 100% เสียก่อน เป็นลักษณะของการเติมเต็มให้กัน ชิ้นส่วนไฟล์ตรงใหนที่ขาดไป สุดท้ายแล้วก็จะได้รับมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายใน ที่สุด ด้วยสาเหตุนี้เอง โปรแกรมบิตทอร์เรนต์จึงสามารถทำให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ ทั้งขาเข้าและขาออก

6. Bluetooth  บลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks – PAN) แบบไร้สาย บลูทูทช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ

ที่มา ของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากกษัตริย์ฮารอล์ด บลูทูธ (King Harold Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก

สัญลักษณ์ของอุปกรณ์นี้คือตัวอักษร อักษรรูนส์ Rune เมื่อนำตัวหน้าของชื่อกษัตริย์ Harald Bluetooth มาวางซ้อนกัน

ตัว H ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์กากบาท ที่มีขีดพาดกลางตามแนวตั้ง หรือตัว Hagalaz ในอักษรรูนส์ ส่วนตัว B ถูกแทนด้วยตัว Bekano ซึ่งคล้ายตัว B เดิมอยู่แล้ว

เมื่อนำสัญลักษณ์ทั้งสองตัวมาซ้อนกันจึงได้ โลโกของ bluetooth ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

7. Blu-ray  คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี “ฟ้า″ ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm

8. Broadband เป็นรูปแบบการสื่อสาร Internet ความเร็วสูง

9. Dual Band  ใช้กับโทรศัพท์ที่รองรับความถี่สัญญาณ 2 ความถี่ เช่น รองรับ 900 , 1800 MHz

10. Dual Mode  ใช้กับโทรศัพท์ที่รองรับการใช้งานทั้งระบบ GSM และ CDMA

11. EDGE (Enhanced Data for GSM Evolution)  เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่พัฒนาต่อยอดมาจากระบบ GPRS ซึ่งได้ความเร็วเพิ่มมากขึ้น อยู่ในยุคของโทรศัพท์ที่ 2.75 G

12. EIR (Equipment Identity Register)  เป็นอุปกรณ์บน Network โทรศัพท์เพื่อใช้ในการตรวจสอบหมายเลข IMEI ของตัวโทรศัพท์ที่ใช้งานภายใต้โครงข่ายโทรศัพท์นั้นๆ

13. Fiber Optic  สื่อในการรับส่งข้อมูลโดยอาศัยแสงในการรับส่งข้อมูล เป็นสื่อข้อมูลที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดและสามารถใช้งานได้ในระยะไกล

14. FireWire ไฟร์ไวร์ (อังกฤษ: FireWire) (อาจรู้จักในชื่อ i.Link และ IEEE 1394) เป็นข้อกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อบัสการสื่อสารแบบอนุกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การที่ FireWire มีอัตราการส่งข้อมูลสูง ทำให้เข้ามาทดแทนการเชื่อมต่อแบบ SCSI ในอุปกรณ์หลายชนิด

อุปกรณ์ที่นิยมใช้ FireWire มากที่สุดคือ กล้องวิดีโอดิจิทัล ซึ่งมีช่องเสียบ FireWire มาตั้งแต่ ค.ศ. 1995 เครื่องคอมพิวเตอร์บางยี่ห้อ เช่น แอปเปิล คอมพิวเตอร์ หรือ โซนี่ ได้รวม FireWire เป็นอุปกรณ์มาตรฐานเช่นกัน แต่ในปัจจุบัน FireWire กำลังถูกแทนที่ด้วยมาตรฐาน USB 2.0

15. Gateway  เป็นประตูจุดเชื่อมต่อระหว่าง Network ที่ User ใช้งานอยู่กับ Network อื่น


ลิงค์อ้างอิง:
วันที่: 3 ธ.ค. 2557 | 13:19:57 | โดย Dinakak | IP 106.0.211.xxx
Share
 
 
อ่าน 1,002  |  แจ้งลบ    << ย้อนกลับ
 
ร่วมแสดงความคิดเห็น
คุณต้องเป็นสมาชิกก่อนถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นในบทความนี้ได้
 
ความคิดเห็นที่ 5  แจ้งลบ


8 ธ.ค. 2557 | 14:56:01 | IP 202.29.179.xxx
โพสโดยคุณ
passathon keawsawang
 
ความคิดเห็นที่ 4  แจ้งลบ
เก่งๆๆ

3 ธ.ค. 2557 | 14:20:01 | IP 106.0.211.xxx
โพสโดยคุณ
เรียกน้ะ เชอรี่
 
ความคิดเห็นที่ 3  แจ้งลบ


3 ธ.ค. 2557 | 13:21:53 | IP 106.0.211.xxx
โพสโดยคุณ
อ.อ๊อฟ ติ้งต้อง
 
ความคิดเห็นที่ 2  แจ้งลบ


3 ธ.ค. 2557 | 13:21:50 | IP 106.0.211.xxx
โพสโดยคุณ
อ.อ๊อฟ ติ้งต้อง
 
ความคิดเห็นที่ 1  แจ้งลบ


3 ธ.ค. 2557 | 13:21:50 | IP 106.0.211.xxx
โพสโดยคุณ
อ.อ๊อฟ ติ้งต้อง
 
 
ข่าวกิจกรรม : CyberScout
 
เข้าสู่ระบบ
 
E-mail
Password
 
แนะนำหลักสูตรใหม่
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ฉบับก้าวหน้า
หลักสูตรวิทยากรแกนนำฉบับก้าวหน้า จัดทำขึ้นเพื่อฝึกอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ให้มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญ และสามารถนำไปถ่ายทอด..
12 มิ.ย. 2555 | 15:10 น.
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำที่มีความพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันหลักของประเทศชาติ และนำอ..
19 เม.ย. 2554 | 10:37 น.