Friday , 19 April 2024 / 05 : 11 : 18
Home   |   Sitemap   |   Contact us

gallery
        สร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ที่มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรม และขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout เพื่อสนับสนุนความรักความสามัคคีภายในชาติ เฝ้าระวังและสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสังคมไทย
         Creating Cyber Scout Volunteer who realizes the morality and extending Cyber Scout Volunteer for supporting the unity in Thailand and watching out all dangerous behavior.
.
100Schools 100Schools download
 
 
 
คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อให้เด็ก เยาวชน และ ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในด้านคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงขอเผยแพร่เนื้อหาหลักสูตรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ บทที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนี้


บทที่ 3 คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คุณธรรมเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นกรอบของความประพฤติ ความคิดที่สังคมหรือบุคคลมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์มากกว่าโทษ ทั้งนี้ต่างก็ต้องการให้พลเมืองเป็นคนที่มีคุณธรรม เพื่อนำมาสู่ความสงบสุขของสังคม มีการจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม แต่การที่จะให้ประชาชนมีคุณธรรมนั้นยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายด้าน โดยเฉพาะปัจจัยด้านสื่อที่ถือว่ามีส่วนในการสะท้อนสภาพวิถีชีวิต การปลูกฝังคุณธรรม การอบรมบ่มเพาะ ทัศนคติ ค่านิยมต่างๆ และขัดเกลาพฤติกรรม
จริยธรรม (Ethics) คำว่า “จริยธรรม” แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ" หรือกิริยาที่ควรประพฤติ คุณความดี หลักคำสอนของศาสนา หลักปฏิบัติ หลักแห่งความประพฤติ แนวทางของการประพฤติ (วศิน เพิ่มทรัพย์และวิโรจน์ ชัยมูล. 2548.)

ผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
1) เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
2) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
3) เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
4) เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
5) เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใดๆ ได้
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศหรือข่าวสารที่ต้องการ โดยจะรวมถึง
1) เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2) กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผลและแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์การ การเชื่อมโยงสารสนเทศผ่านทางคอมพิวเตอร์ ทำให้สิ่งที่มีค่ามากที่สุดของระบบ คือ ข้อมูลและสารสนเทศ อาจถูกจารกรรม ถูกปรับเปลี่ยน ถูกเข้าถึงโดยเจ้าของไม่รู้ตัว ถูกปิดกั้นขัดขวางให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ หรือถูกทำลายเสียหายไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากบนโลกของเครือข่าย โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน มีรายละเอียดดังนี้
(1) ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
(2) ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
(3) ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
(4) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
(5) ไม่ทำลายข้อมูล
(6) ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
(7) ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมลของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ
(8) การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมดหรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมลเซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
(9) ไม่เผยแพร่ หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกว่า(Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายโปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส (virus) เวิร์ม (Worm) และม้าโทรจัน (Trojan)
(10) ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา)
(11) ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์การหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ
3.1 ประเด็นทางคุณธรรมจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ด้วยสังคมในปัจจุบันพบว่ามีความขัดแย้งหลายด้าน และมีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้คนในสังคมห่างเหินความมีคุณธรรมออกไป ซึ่งหากพิจารณาในมุมมองที่เกิดจากผลกระทบด้านสื่อแล้ว พบว่าสื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน เพราะสื่อส่วนใหญ่ยังคงเน้นการดำเนินการในเชิงธุรกิจ จึงทำให้ขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดความเสื่อมโดยเฉพาะด้านคุณธรรมที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
นอกจากการใช้สื่อหรือสื่อสังคมออนไลน์แล้วการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในสังคมปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติดีและไม่ดีรวมถึงการสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์การที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง
ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาการบนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่น การส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ใช้บริการควรมีความเข้าใจและทราบถึงการใช้สังคมออนไลน์ในด้านต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดํารงชีวิตประจําวันของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งเราจะพบว่ายิ่งมีประโยชน์เพียงไร เทคโนโลยีสารสนเทศกอาจเป็นภัยมากเท่ากันหากผู้ใช้ไม่มีความรู้ความรับผิดชอบและนําไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นในแต่ละประเทศจึงได้มีการกําหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึง กฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรมในการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาถึงคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว
ยังสามารถแยกเป็นอีก 4 ประเด็นซึ่งจะประกอบด้วย
1) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลําพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
(1) การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
(2) การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคลซึ่งทําให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทําเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
(3) การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
(4) การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนําไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนําไปขายให้กับบุคคลอื่น
(5) ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต หรือที่อยู่อีเมล
2) ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการจัดทําข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนําเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลใหม่ ความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย
3) ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น โดยในการคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทําที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทําการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
4) การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกําหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดําเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นการธำรงไว้ซึ่งความลับของข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว (กิดานันท์ มลิทอง, 2540)
3.2 คุณลักษณะจรรยาบรรณทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พึงประสงค์
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ นักคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ ต้องตระหนักถึงร่วมกัน เพื่อความสงบสุขในสังคมสารสนเทศ สารสนเทศส่วนบุคคล (Personal Information) ปัจจุบันนี้ทั้งองค์การของรัฐและเอกชน ล้วนแล้วแต่ได้รับความสะดวกในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ในงานทะเบียนราษฎร โรงพยาบาล สำนักงานทนายความ บริษัทประกันภัย ระบบธนาคาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลมีสิทธิในข้อมูลของตน องค์การหรือหน่วยงานมิบังควรเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลสู่สาธารณะชน รวมทั้งการส่งข้อความหรือเอกสารทางอินเทอร์เน็ตระหว่างบุคคล ปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัย เพราะอาจมีผู้แอบเปิดจดหมาย หรือข้อความส่วนตัวบนระบบเครือข่ายได้ บางกรณีอาจเป็นการใช้สารสนเทศในการทำลายชื่อเสียงหรือหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ บางกรณีหน่วยงานของรัฐอาจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในการตรวจสอบภาษีรายได้ กรณีที่ไม่จ่ายภาษีตามที่เป็นจริง บางกรณีก็เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบสินค้าหนีภาษี หรือสินค้าต้องห้ามในผู้โดยสารเที่ยวบินต่างๆ จะเห็นได้ว่าเรื่องของสารสนเทศส่วนบุคคล สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงบทบาทและจรรยาบรรณ ในการประกอบอาชีพของตนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบทำสำเนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย การขโมยข้อมูลสารสนเทศในขณะที่ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย การแอบใช้รหัสผ่านของผู้มีอำนาจเพื่อเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นความลับของหน่วยงาน การแอบใช้อุปกรณ์ เช่น CPU ของระบบเมนเฟรมเพื่องานส่วนตัว การขโมยฮาร์ดแวร์ การทำลายระบบข้อมูล รวมทั้งการปฏิบัติการของกลุ่มที่เรียกว่า hacker ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพยายามเข้าใช้ระบบสารสนเทศของผู้อื่นโดยไม่ได้รับ อนุญาต โดยเฉพาะการเข้าสู่ระบบเครือข่ายสารสนเทศของผู้อื่นโดยใช้รหัสปลอม เป็นต้น โดยสามารถสรุปประเด็นต่างๆ ในการทำความผิดทางจริยธรรมและผิดกฎหมายได้ดังนี้
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/105/news.html ณัฐพล ปานงาม
การกระทำความผิดจริยธรรมและผิดกฎหมาย
1) การขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2) อาชญากรรมนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความรับผิดของตนเอง
3) การละเมิดลิขสิทธิ์ปลอมแปลง เลียนแบบระบบซอฟต์แวร์ โดยมิชอบ
4) ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
5) ไปก่อกวน ระบายสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ ระบบการจราจร
6) ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามกอนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
7) หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8) แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ
9) ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินในบัญชีผู้อื่น เข้าบัญชีตัวเอง
Netiquette เป็นคำที่มาจาก “Network Etiquette” หมายถึง จรรยาบรรณของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ Cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมร่วมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้นก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎกติกา (Codes of Conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก
จรรยาบรรณการใช้อินเทอร์เน็ต (Netiquette) คือ กิริยาอาการที่พึงประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มารยาทอินเทอร์เน็ต คือ วิธีประพฤติตนที่เหมาะสมเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต Netiquette มีดังต่อไปนี้
1) อย่าลืมว่าเรากำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนอยู่จริง ก่อนส่งอีเมลหรือโพสต์ข้อความอะไรบนอินเทอร์เน็ต ต้องถามตัวเองก่อนว่า ถ้าเจอกันต่อหน้าคุณจะพูดแบบนี้กับเขาหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ก็จงแก้ไขข้อความนั้นแล้วอ่านใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนรู้สึกว่าไม่ลำบากใจที่จะพูดแบบนี้กับใครแล้วจึงค่อยส่ง
2) การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง คนส่วนใหญ่มักจะเคารพกฎหมายเพราะกลัวโดนจับ แต่ในโลกอินเทอร์เน็ตโอกาสถูกจับมีน้อย ก็จะปฏิบัติต่อกันโดยมีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ถ้าอยากทำอะไรผิดกฎหมายใน Cyberspace สิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นก็น่าจะผิดด้วย
3) รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนใน Cyberspace การกระทำอะไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยอมรับได้ในที่แห่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นที่แห่งอื่นๆ อาจจะไม่ใช่ ลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั่นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือเข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา
4) เคารพเวลาและการใช้ Bandwidth ปัจจุบันดูเหมือนคนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามากนัก เมื่อคุณส่งอีเมลหรือโพสต์ข้อความลงอินเทอร์เน็ต รู้ไว้ว่าคุณกำลังให้คนอื่นเสียเวลามาอ่าน ดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณควรแน่ใจก่อนส่งว่า ข้อความหรืออีเมลนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา
5) การสื่อสารบนโลกออนไลน์ โลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนโลกแห่งความเป็นจริง คนที่สื่อสารกันในนั้นอยากให้คนอื่นชอบ แต่คุณไม่ต้องถูกตัดสินด้วย สีผิว สีตา สีผม น้ำหนัก อายุ หรือการแต่งตัวของคุณ คุณจะถูกตัดสินผ่านคุณภาพของสิ่งที่คุณเขียน ดังนั้นการสะกดคำให้ถูกและเขียนให้ตรงตามหลักไวยากรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรรู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ และพูดอย่างมีเหตุมีผล
6) แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ จุดแข็งของ Cyberspace คือ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อ่านคำถามบนอินเทอร์เน็ต และถึงแม้ว่าจะมีส่วนน้อยมากในจำนวนนั้นที่ตอบคำถาม ความรู้โดยรวมของโลกก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี แม้ว่ามารยาทการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีข้อห้ามยาวเหยียด คุณก็มีความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น อย่ากลัวที่จะแบ่งปันในสิ่งที่คุณรู้
7) เวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรง ควรรู้จักยับยั้งชั่งใจ หรือพยายามควบคุมอารมณ์ของตนให้มาก
8) เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น คุณไม่ควรไปเปิดอ่านอีเมลของคนอื่น การไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นเป็นมารยาทการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ดี
9) อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์ การรู้มากกว่าคนอื่นหรือมีอำนาจมากกว่าไม่ได้แปลว่า คุณมีสิทธิที่จะเอาเปรียบคนอื่นได้ เช่น ผู้ดูแลระบบไม่ควรอ่านอีเมลส่วนตัวของคนอื่น
ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น ทุกคนเคยเป็นมือใหม่มาก่อน บางคนจึงทำผิดพลาดในแง่มารยาทการใช้อินเทอร์เน็ต จงใจเย็นเข้าไว้ ถ้าคุณตัดสินใจจะบอกคนที่ทำผิดมารยาทการใช้อินเทอร์เน็ต ก็จงบอกอย่างสุภาพและเป็นส่วนตัวดีกว่าไปป่าวประกาศให้คนอื่นรับรู้ด้วย จงให้โอกาสในความไม่รู้ของคนอื่น การประณามว่าผู้อื่นไม่มีมารยาทตรงๆ ก็มักจะเป็นตัวอย่างของมารยาทที่ไม่ดีเช่นกัน



3.3 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.1 ปัญหาที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มนุษย์ได้รับประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีของชีวิตมนุษย์ และได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นอย่างมากมาย การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อที่มนุษย์จะสามารถดำรงอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่าง ชาญฉลาด การศึกษาหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยี สารสนเทศเป็นสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ประเด็นเรื่องจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการนำไปสู่ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา การสร้างวัฒนธรรมที่ดีในสังคมจะช่วยแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อปัญหามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายมา ใช้บังคับ เราสามารถ พิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน ได้ดังนี้
1) มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อ มองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เครื่องมือบางอย่างก็มีประโยชน์มาก บางอย่างก็มีประโยชน์น้อย และบางอย่างก็ไม่มีประโยชน์ การเลือกใช้เครื่องมือจะส่งผลต่อวิธีการทำงานของมนุษย์ เช่น พฤติกรรมในการเขียนของผู้ใช้โปรแกรมประมวลคำ จะแตกต่างไปจากผู้ใช้กระดาษและปากกา เป็นต้น ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ เราจะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นเราอาจต้องการหาคำตอบว่า การที่มนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นจะต้องทำการจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป หรือเราอาจต้องการหาคำตอบว่า อินเทอร์เน็ตมีผลอย่างไรต่อการศึกษา หรือคำตอบจากคำถามที่ว่า โทรทัศน์วงจรปิดกระทบกับสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ในมุมมองที่ว่าเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ได้ถูกวิพากษ์ว่า เทคโนโลยีจะเป็นตัวกำหนดการคิดและการกระทำของมนุษย์ เช่น การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ จะส่งผลต่อความสามารถในการเขียนตัวหนังสือของมนุษย์ เป็นต้น
2) มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีผลกระทบซึ่งกันและกัน ภายใต้มุมมองแบบนี้มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน เป็นผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึงได้ ผลักดันให้เกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในขณะเดียวกันเทคโนโลยีสารสนเทศก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมเช่นกัน การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เช่นระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้รูปแบบการติดต่อสื่อสารของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจำนวนมากจะติดต่อกันด้วยอีเมล แทนการเขียนจดหมาย มีการติดต่อซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการใช้ล่อลวงกันโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อมากขึ้น ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคม ต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็เป็นผลมาจากกระบวนการ ที่ซับซ้อนและลึกซึ้งทางสังคมเช่นกัน
3) มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนด ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี ซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอยู่หลายรูปแบบ แต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียรจะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรง ชีวิต ดังเช่น คนที่มีและใช้โทรศัพท์มือถือจะแตกต่างไปจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สามารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไกการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน กลไกในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเทอร์เน็ต ก็จะแตกต่างจากสังคมอื่นที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น จากมุมมองต่าง ๆ ทั้งสามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราสามารถนำมาพิจารณาปัญหาสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ตลอดจนใช้สังเคราะห์สร้างความเข้าใจต่อปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการหาทางป้องกัน แก้ไข หรือบรรเทาปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อไปอย่างไรก็ตามการที่ตัดสินว่ากรณีใด เป็นสาเหตุของปัญหาสังคมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกันกับวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น ในแต่ละกรณีนั้นจะมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาเด็กติดเกม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน วิธีการแก้ปัญหาอาจจะมีหลากหลาย แต่วิธีการที่ยั่งยืนกว่าก็คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกของสังคมที่ จะไม่ลุ่มหลงกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดมากเกินไป นอกจากนั้นปัญหาของสังคมเหล่านี้ ยังมีความสัมพันธ์กับเรื่องของจริยธรรม วัฒนธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย หรือมาตรฐานปฏิบัติแห่งสังคมนั้นๆ อีกด้วยในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาสังคม การล่อลวงกันทางอินเทอร์เน็ต โดยผ่านทางโปรแกรมที่สามารถโต้ตอบกันทันทีผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยปกติโปรแกรมนี้มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งบุคคลที่เราติดต่อด้วยนั้นพึงเป็นบุคคลที่เรารู้จัก เรื่องราวที่ติดต่อกันน่าจะต้องเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารก็เป็นหน้าที่ของผู้รับข้อมูลข่าวสาร ผู้ใช้พึงกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับให้ดี การเข้าไปมีความรู้สึกลุ่มหลงโดยปราศจากการไตร่ตรอง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ถูกล่อลวงได้ ในกรณีที่ผู้ใช้เป็นเด็ก ผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาว่าถึงวัยอันควรแล้วหรือยังที่เด็กจะได้รับ อนุญาตให้ใช้โปรแกรมเหล่านี้ได้ การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเด็กให้แข็งแรง ด้วยการให้ความรัก ความเอาใจใส่ จะช่วยบรรเทาปัญหาในลักษณะนี้ได้ในบางครั้งอาจมีการเสนอให้ยกเลิกการใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดปัญหา ข้อเสนอนี้อาจใช้ไม่ได้กับกรณีของเทคโนโลยีสารสนเทศ มนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีนี้เป็นกลไกส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว การหยุดหรือ ถอยกลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็มีประโยชน์มหาศาล ดังนั้นจึงไม่มีทางเลือกอื่นอีกต่อไปแล้ว นอกจากจะสร้างภูมิคุ้มกันให้สมาชิกในสังคมของเราให้สามารถดำรงอยู่กับ เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างชาญฉลาดและรู้เท่าทันภัยจากเทคโนโลยีเหล่านี้เท่านั้น
3.3.2 บัญญัติ 10 ประการในการใช้อินเทอร์เน็ต และเครือข่ายทางสังคม
บัญญัติ 10 ประการ เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ มีดังนี้
1) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2) ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3) ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6) ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7) ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8) ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9) ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10) ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย
ในอนาคตจะมีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป (โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย : http://www.school.net.th/)
3.3.3 การกระตุ้นให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สังคมปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคมอาจเป็นไปได้ทั้งในเชิงบวก หรือเชิงก้าวหน้า ส่งผลที่พึงปรารถนาแก่ผู้อยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง และเป็นไปได้ ในทางตรงกันข้าม คือ เชิงลบหรือเชิงถดถอย ซึ่งส่งผลเป็นความเสื่อมโทรมและความไม่พึงปราถนาต่างๆ แก่บุคคลในสังคม โดยการใช้ยุทธศาสตร์เพื่อเป็นการกระตุ้นและมุ่งพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีวินัย ระเบียบกฎเกณฑ์ในสังคม และปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสงบสุข และให้บุคคลมีจิตใจหนักแน่นในการทำความดี ด้วย ความขยัน และไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ต่างๆ ที่มา กระทบ โดยมีความมุ่งมั่นเพื่อให้จิตใจมีความสว่าง สงบ สะอาด ด้วยวิธีการถูกต้องในหลักการปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จึงมีการประมวลเป็นยุทธศาสตร์การกระตุ้นดังนี้
1) สร้างแรงจูงใจให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาตนเอง (Motivation for development) หมายถึง ความกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามและมีคุณประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคม รวมทั้งต่อ สิ่งแวดล้อม ความรักในการสร้างสรรค์ที่ดีงามจะต้อง ปลูกฝังให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
2) สร้างแรงกระตุ้นให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น ยุทธศาสตร์ในการกระตุ้นให้บุคคลอื่นตื่นตัวมีกำลังที่จะพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าไปตามลำดับมีหลายขึ้นตอน เช่น

(1) กระตุ้นให้มีความเชื่อมั่น
(2) กระตุ้นให้ปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผน
(3) กระตุ้นให้มีความขยันและพยายามอย่างต่อเนื่อง
(4) การกระตุ้นให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(5) การกระตุ้นให้แสวงหาและพัฒนาสติปัญญา
แนวทางในการกระตุ้นให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ
ลิงค์อ้างอิง:
วันที่: 23 มี.ค. 2560 | 15:40:31 | โดย m_jar14 | IP 118.174.7.xxx
Share
 
 
อ่าน 8,689  |  แจ้งลบ    << ย้อนกลับ
 
ร่วมแสดงความคิดเห็น
คุณต้องเป็นสมาชิกก่อนถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นในบทความนี้ได้
 
 
ข่าวกิจกรรม : CyberScout
 
เข้าสู่ระบบ
 
E-mail
Password
 
แนะนำหลักสูตรใหม่
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ฉบับก้าวหน้า
หลักสูตรวิทยากรแกนนำฉบับก้าวหน้า จัดทำขึ้นเพื่อฝึกอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ให้มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญ และสามารถนำไปถ่ายทอด..
12 มิ.ย. 2555 | 15:10 น.
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำที่มีความพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันหลักของประเทศชาติ และนำอ..
19 เม.ย. 2554 | 10:37 น.