Thursday , 28 March 2024 / 23 : 53 : 31
Home   |   Sitemap   |   Contact us

gallery
        สร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ที่มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรม และขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout เพื่อสนับสนุนความรักความสามัคคีภายในชาติ เฝ้าระวังและสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสังคมไทย
         Creating Cyber Scout Volunteer who realizes the morality and extending Cyber Scout Volunteer for supporting the unity in Thailand and watching out all dangerous behavior.
.
100Schools 100Schools download
 
 
 
กฎหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เด็ก เยาวชน และ ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ จึงขอเผยแพร่เนื้อหาหลักสูตรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ บทที่ 4 ที่ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้

บทที่ 4 กฎหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

4.1 ความเป็นมาของกฎหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย เริ่มมีใช้กันมาตั้งแต่ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช.) ได้ทำการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่

1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

2) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

3) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน

4) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

5) กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

6) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนกฎระเบียบในที่นี้ ขออ้างถึงระเบียบของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู พ.ศ. 2546 ตามที่มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจอูทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด และคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ออกประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2540 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูซึ่งข้อ 4 ของประกาศฯ ดังกล่าว ได้ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยในการให้ประชาชนเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการก็ได้

หากพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยก็จะพบว่ามีกฎหมายที่สำคัญอยู่ 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งจัดอยู่ในประเภทกฎหมายที่ใช้บังคับในทางอาญา และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีทั้งส่วนที่ใช้บังคับในทางแพ่งและส่วนที่ใช้บังคับในฐานะกฎหมายปกครองรวมอยู่ด้วยกัน ในลำดับต่อไปขออธิบายถึงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ เพื่อขยายความให้ลูกเสือไซเบอร์ได้มีความเข้าใจในรายละเอียดแห่งกฎหมายนี้พอสมควร



4.2 กฎหมายว่าด้วยเรื่องธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ถือเป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับแรกซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายสำคัญของประเทศไทยที่ตราขึ้นใช้บังคับเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อรับรองผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติที่ทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางออนไลน์ รวมทั้งมาตรการในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งมีอำนาจในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการต่างๆ และการให้บริการของภาครัฐ ตลอดจนมีอำนาจเสนอแนะการตราพระราชกฤษฎีกาอันเป็นกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อคณะรัฐมนตรี และการจัดทำประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ก็ยังได้กำหนดเกี่ยวกับบทลงโทษเอาไว้ในกฎหมายด้วย โดยมีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้น 46 มาตรา

ต่อมาได้มีการปรับรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวนสองครั้งโดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งแรกนั้น จัดทำเมื่อมีการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งได้มีการจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้นใหม่ จึงได้มีการแก้ไขตำแหน่งประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเดิมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ชื่อในขณะนั้น) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแทน ทั้งนี้ โดยตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งหน่วยงานธุรการยังคงเป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ตามลำดับดังเช่นเดิมเมื่อแรกเริ่มกฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ สำหรับการปรับปรุงครั้งที่สองมีนัยสำคัญในการปรับเปลี่ยนสองประการ กล่าวคือ ประการแรกเพื่อรองรับผลทางกฎหมายของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์มากขึ้น และประการที่สองเพื่อเพิ่มตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและให้มีการโอนภารกิจงานส่วนเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปยังสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบ

เจตนารมย์ของการตรากฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตราขึ้นด้วยเจตนารมณ์เพื่อรองรับผลผูกพันทางกฎหมายของ นิติกรรมสัญญาและการดำเนินการใดๆ ที่อยู่ในรูปของ“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” รวมทั้ง “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” อันเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่แบบของคณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศซึ่งจัดทำโดยสหประชาชาติ จำนวนสองฉบับ ได้แก่ กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ.1996 ซึ่งมีการปรับปรุงเพิ่มเติมปี ค.ศ.1998 (UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce 1996 with additional article 5 bis as adopted in 1998) และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ.2001 (Model Law on Electronic Signatures 2001) เพื่อให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นแนวทางในการตรากฎหมายภายในของประเทศตนเองให้มีความสอดคล้องกันในลักษณะที่เป็นเอกรูป (Uniformity) โดยกฎหมายแม่แบบทั้งสองฉบับนั้น ได้จัดทำขึ้นโดยวางอยู่บนหลักการสำคัญสามหลักการ คือ

หลักความเท่าเทียมกัน (Functional-Equivalent Approach) เพื่อให้การใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำนิติกรรม สัญญา หรือการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยรัฐที่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมาย โดยข้อกำหนดในกฎหมายฉบับต่างๆ ก็มักกำหนดแบบของความผูกพันทางกฎหมายเหล่านั้นเอาไว้ในรูปของการทำเป็นหนังสือ หรือการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ อีกทั้งอาจกำหนดให้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ให้ทำหรือให้แสดงในลักษณะเป็นต้นฉบับหรือเป็นพยานหลักฐาน หรือให้จัดเก็บเป็นเอกสาร ซึ่งต้องทำให้ปรากฏหรือต้องแสดงผลในรูปของข้อความบนระบบกระดาษ (Paper-Based Documentation) หรือบนสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จับต้องได้ทางกายภาพ ดังนั้น ภายใต้หลักความเท่าเทียมกันของกฎหมายแม่แบบจึงได้กำหนดให้การดำเนินการดังกล่าวแม้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Data Messages) โดยการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information) ซึ่งอาจบันทึก ทำให้ปรากฏ หรือแสดงผลผ่านสื่อ คอมพิวเตอร์อันเป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลโดยอัตโนมัติแบบหนึ่งแบบใด และกำหนดให้มีผลทางกฎหมายเหมือนเช่นที่กฎหมายฉบับต่างๆ กำหนดไว้ว่าให้ทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ เอกสาร ต้นฉบับ หรือเป็นพยานหลักฐานได้เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้บนระบบกระดาษ ดังนั้น ภายใต้หลักการนี้กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ.1996 จึงได้กำหนดไว้ชัดว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งกฎหมายแม่แบบว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ.2001 ก็ได้กำหนดหลักการไว้ชัดเจนเช่นเดียวกันว่า ผลทางกฎหมายของการลงลายมือชื่อด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องไม่แตกต่างไปจากผลทางกฎหมายของการลงลายมือชื่อบนระบบกระดาษ

หลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น หากตรากฎหมายรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น กรณีที่มีการสร้างหรือใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการกำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งหรือรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยกำหนดไว้ในกฎหมายเจาะจงหรือผูกติดอยู่กับเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใด กฎหมายที่ตราขึ้นดังกล่าวก็อาจล้าสมัยหรือไม่สามารถปรับใช้ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในแต่ละช่วงในแต่ละยุคได้



หลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้คู่สัญญาหรือคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตกลงระหว่างกันเองเป็นอย่างอื่นในกรณีที่เป็นเรื่องซึ่งไม่กระทบกับหลักการใหญ่สองหลักการแรก เช่น เมื่อกล่าวถึงกฎเกี่ยวกับระบบ (System Rules) อันเป็นระบบการส่งหรือระบบการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากคู่สัญญาหรือคู่กรณีไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้หมายถึงระบบการติดต่อสื่อสารผ่านทางเครือข่าย (Communication Networks) อันอาจเป็นระบบการติดต่อสื่อสารผ่านทางเครือข่ายแบบเปิด (Open-networks Communications) หรืออาจเป็นระบบที่มีการกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานซึ่งคู่สัญญาหรือคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) เป็นต้น

โครงสร้างของกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ประกอบด้วย 49 มาตรา ดังนี้

มาตรา 1 กฎหมายนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544”

มาตรา 2 กฎหมายนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในกฎหมายนี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับ

ความในวรรคหนึ่งไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงกฎหมายหรือกฎใดที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

กฎหมายนี้ให้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดใน หมวด 4 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“ธุรกรรม” หมายความว่า การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนด ใน หมวด 4

“อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น

“ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน

“ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ

“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร

“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

“ระบบข้อมูล” หมายความว่า กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับสร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวล ผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

“การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การส่งหรือรับข้อความด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์โดยใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

"ผู้ส่งข้อมูล" หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนจะมีการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อส่งไปตามวิธีการ ที่ผู้นั้นกำหนด โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง หรือมีการส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามหรือแทนบุคคลนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

“ผู้รับข้อมูล” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ และได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

“บุคคลที่เป็นสื่อกลาง” หมายความว่า บุคคลซึ่งกระทำการในนามผู้อื่นในการส่ง รับ หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันใด อันหนึ่งโดยเฉพาะ รวมถึงให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

“ใบรับรอง” หมายความว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใด ซึ่งยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูล สำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

“เจ้าของลายมือชื่อ” หมายความว่า ผู้ซึ่งถือข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น

“คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า ผู้ซึ่งอาจกระทำการใดๆ โดยขึ้นอยู่กับใบรับรองหรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิ ภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคล คณะบุคคล หรือบุคคล ซึ่งมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินงานของรัฐไม่ว่าในกรณีใดๆ

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายนี้

มาตรา 5 บทบัญญัติ มาตรา 13 ถึง มาตรา 24 และบทบัญญัติ มาตรา 26 ถึง มาตรา 31 จะตกลงกันเป็นอย่างอื่นก็ได้

มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูป ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ มีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อ ความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า

(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ

(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง หรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี

มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสาร ต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว

(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้อง ของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ

(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้

ความถูกต้องของข้อความตาม (1) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความ เว้นแต่การรับรอง หรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตามปกติในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องของข้อความนั้น

ในการวินิจฉัยความน่าเชื่อถือของวิธีการรักษาความถูกต้องของข้อความตาม (1) ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการสร้างข้อความนั้น

มาตรา 11 ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะ เหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้น ให้พิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือ วิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะ หรือวิธีการรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการ ที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง

มาตรา 12 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด ถ้าได้เก็บรักษา ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความตามที่กฎหมายต้องการแล้ว

(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง

(2) ได้เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เป็ฯอยู่ในขณะที่สร้าง ส่ง หรือได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรือ อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงข้อความที่สร้าง ส่ง หรือได้รับให้ปรากฏอย่างถูกต้องได้ และ

(3) ได้เก็บรักษาข้อความส่วนที่ระบุถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง และปลายทางของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนวันและเวลาที่ส่งหรือ ได้รับข้อความดังกล่าว ถ้ามี

ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับข้อความที่ใช้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งหรือรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด อาจกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความนั้นได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในมาตรานี้

มาตรา 13 คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญา อาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมิให้ปฏิเสธการมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นได้ทำคำเสนอหรือคำสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 14 ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนาหรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 15 บุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใด ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้นในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ให้ถือว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งข้อมูล หากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ส่งโดย

(1) บุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น หรือ

(2) ระบบข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลหรือบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ

มาตรา 16 ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะดำเนินการไป ตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ ถ้า

(1) ผู้รับข้อมูลได้ตรวจสอบโดยสมควรตามวิธีการที่ได้ตกลงกับผู้ส่งข้อมูลว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูล หรือ

(2) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลซึ่ง ใช้วิธีการที่ผู้ส่งข้อมูลใช้ในการแสดงว่าข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูล ซึ่งบุคคลนั้นได้ล่วงรู้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับผู้ส่งข้อมูล หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูล ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้า

(1) ในขณะนั้นผู้รับข้อมูลได้รับแจ้งจากผู้ส่งข้อมูลว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นมิใช่ของผู้ส่งข้อมูล และในขณะเดียวกันผู้รับข้อมูลมีเวลาพอสมควรที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งนั้น หรือ

(2) กรณีตามวรรคหนึ่ง (2) เมื่อผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่ใช่ของผู้ส่งข้อมูล หากผู้รับข้อมูล ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร หรือดำเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว

มาตรา 17 ในกรณีตาม มาตรา 15 หรือ มาตรา 16 วรรคหนึ่ง ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ผู้รับข้อมูล ผู้รับข้อมูลมีสิทธิถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่รับนั้นถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งข้อมูล และสามารถดำเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ เว้นแต่ผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับนั้นมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากการส่ง หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดำเนินการ ตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว

มาตรา 18 ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับแต่ละชุดเป็นข้อมูลที่แยกจากกัน และสามารถดำเนินการไป ตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชุดนั้นได้ เว้นแต่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชุดนั้นจะซ้ำกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อีกชุดหนึ่ง และผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซ้ำ หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดำเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว

มาตรา 19 ในกรณีที่ต้องมีการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าผู้ส่งข้อมูลได้ร้องขอ หรือตกลงกับผู้รับข้อมูล ไว้ก่อนหรือขณะที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือปรากฏในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้ตกลงให้ตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบหรือวิธีการใดโดยเฉพาะ การตอบ แจ้งการรับอาจทำได้ด้วยการติดต่อสื่อสารจากผู้รับข้อมูล ไม่ว่าโดยระบบข้อมูลที่ทำงานโดยอัตโนมัติหรือโดยวิธีอื่นใด หรือด้วยการกระทำใดๆ ของผู้รับข้อมูลซึ่งเพียงพอจะแสดงต่อผู้ส่งข้อมูล ว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นแล้ว

(2) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลกำหนดเงื่อนไขว่าจะถือว่ามีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อเมื่อ ได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้ถือว่ายังไม่มีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จนกว่าผู้ส่งข้อมูลจะได้รับการตอบแจ้งการรับแล้ว

(3) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้กำหนดเงื่อนไขตามความใน (2) และผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับนั้นภายในเวลาที่กำหนด หรือตกลงกัน หรือภายในระยะเวลาอันสมควรในกรณีที่มิได้กำหนดหรือตกลงเวลาไว้

(4) ผู้ส่งข้อมูลอาจส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้รับข้อมูลว่าตนยังมิได้รับการตอบแจ้งการรับ และกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้รับ ข้อมูลตอบแจ้งการรับ และ

(5) หากผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับภายในระยะเวลาตาม (ก) เมื่อผู้ส่งข้อมูลบอกกล่าวแก่ผู้รับข้อมูลแล้ว ผู้ส่งข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมิได้มีการส่งเลย หรือผู้ส่งข้อมูลอาจใช้สิทธิอื่นใดที่ผู้ส่งข้อมูลมีอยู่ได้

มาตรา 20 ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้สันนิษฐานว่า ผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิได้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูล ได้รับนั้นถูกต้องตรงกันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งข้อมูลได้ส่งมา

มาตรา 21 ในกรณีที่ปรากฏในการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ตกลง หรือระบุไว้ในมาตรฐานซึ่ง ใช้บังคับอยู่ ให้สันนิษฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปนั้น ได้เป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคทั้งหมดแล้ว

มาตรา 22 การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล

มาตรา 23 การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้น แต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูล ซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแม้ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลตั้งอยู่ในสถานที่อีกแห่งหนึ่งต่างหากจากสถานที่ที่ถือว่าผู้รับข้อมูล ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 24

มาตรา 24 การส่งหรือการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าได้ส่ง ณ ที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูล หรือได้รับ ณ ที่ทำการงาน ของผู้รับข้อมูล แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูลมีที่ทำการงานหลายแห่ง ให้ถือเอาที่ทำการงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกับธุรกรรมนั้นเป็นที่ทำการงาน เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่สามารถกำหนดได้ว่าธุรกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับที่ทำการงานแห่งใดมากที่สุด ให้ถือเอาสำนักงานใหญ่เป็นสถานที่ที่ได้รับหรือส่ง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ในกรณีที่ไม่ปรากฏที่ทำการงานของผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูล ให้ถือเอาถิ่นที่อยู่ปกติเป็นสถานที่ที่ส่งหรือได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการส่ง และการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการทางโทรเลข และโทรพิมพ์ หรือวิธีการสื่อสาร อื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 25 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดที่ได้กระทำตามวิธีการแบบปลอดภัยที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้สันนิษฐานว่าเป็น วิธีการที่เชื่อถือได้

หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 26 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

(1) ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อ โดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นำมาใช้

(2) ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของลายมือชื่อ โดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น

(3) การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้น สามารถจะตรวจพบได้ และ

(4) ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการจำกัดว่าไม่มีวิธีการอื่นใดที่แสดงได้ว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ หรือการแสดงพยานหลักฐานใดเกี่ยวกับความไม่น่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 27 ในกรณีมีการใช้ข้อมู
บทที่ 4 กฎหมายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประเภท : .docx | ขนาด : 0.00 Kb | ดาวน์โหลด : 517
ลิงค์อ้างอิง:
วันที่: 23 มี.ค. 2560 | 15:31:43 | โดย m_jar14 | IP 118.174.7.xxx
Share
 
 
อ่าน 3,683  |  แจ้งลบ    << ย้อนกลับ
 
ร่วมแสดงความคิดเห็น
คุณต้องเป็นสมาชิกก่อนถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นในบทความนี้ได้
 
 
ข่าวกิจกรรม : CyberScout
 
เข้าสู่ระบบ
 
E-mail
Password
 
แนะนำหลักสูตรใหม่
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ฉบับก้าวหน้า
หลักสูตรวิทยากรแกนนำฉบับก้าวหน้า จัดทำขึ้นเพื่อฝึกอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ให้มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญ และสามารถนำไปถ่ายทอด..
12 มิ.ย. 2555 | 15:10 น.
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำที่มีความพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันหลักของประเทศชาติ และนำอ..
19 เม.ย. 2554 | 10:37 น.