Friday , 29 March 2024 / 18 : 30 : 22
Home   |   Sitemap   |   Contact us

gallery
        สร้างอาสาสมัคร Cyber Scout ที่มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรม และขยายเครือข่ายอาสาสมัคร Cyber Scout เพื่อสนับสนุนความรักความสามัคคีภายในชาติ เฝ้าระวังและสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสังคมไทย
         Creating Cyber Scout Volunteer who realizes the morality and extending Cyber Scout Volunteer for supporting the unity in Thailand and watching out all dangerous behavior.
.
100Schools 100Schools download
 
 
 
ลูกเสือไซเบอร์คืออะไร
มาทำความรู้จัก ลูกเสือไซเบอร์ กันคะ



ความหมายของลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout)

ลูกเสือไซเบอร์ หมายความว่า เหล่าลูกเสือหรือผู้บำเพ็ญตนเพื่องานสาธารณะ โดยปฏิบัติหน้าที่ในการดูแล และเฝ้าระวังภัยคุกคามผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือโลกไซเบอร์ เพื่อมิให้เกิดการกระทำที่ละเมิดและเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (แผนประยุกต์หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง, 2554, หน้า 6)

ลูกเสือไซเบอร์ หมายความว่า เหล่าลูกเสือหรือผู้บําเพ็ญตนเพื่องานสาธารณะ โดยปฏิบัติหน้าที่ในการดูแล และเฝ้าระวังภัยคุกคามผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือโลกไซเบอร์ เพื่อมิให้เกิดการกระทําที่ละเมิดและความเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (คู่มือการอบรมหลักสูตรอาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย, 2555, หน้า 8)

ลูกเสือไซเบอร์ หมายความว่า ลูกเสือหรือบุคลากรทางการลูกเสือตามกฎหมาย ลูกเสือและบุคลลทั่วไปที่สมัครและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือไซเบอร์ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด (ที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และหลักสูตรในการดำเนินงานโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Cyber Scout), 2556)

ประวัติ ภูมิหลังและกิจการลูกเสือไซเบอร์

ลูกเสือไซเบอร์ (Cyber Scout) เป็นคำที่ใช้เรียกแทนผู้ผ่านการฝึกอบรมในโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เริ่มต้นจาก นายจุติ ไกรฤกษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีนโยบายให้มีการจัดอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับกลุ่มลูกเสือจำนวน 200 คน ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดงในปี พ.ศ. 2553 และเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับกระทรวงศึกษาธิการ

สืบเนื่องจากในปัจจุบัน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ขณะนี้ภัยคุกคามจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน รวมไปถึงข้อมูลที่มีลักษณะหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้งานและสังคมออนไลน์จำเป็นต้องช่วยกันสอดส่องดูแลจากสิ่งไม่พึงประสงค์ ด้วยเหตุนี้ การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อช่วยดูแลและช่วยตรวจสอบ บนโลกสังคมออนไลน์จึงมีความจำเป็น โดยเริ่มจากการปลูกฝังจิตสำนึกในการร่วมมือกันส่งเสริม ป้องกันให้สังคมไทย เกิดความตระหนักในการรับรู้และใช้งานข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ (เอกสารรายละเอียดชี้แจงโครงการสร้างลูกเสือบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Cyber Scout), 2556)

ประวัติ ภูมิหลังและกิจการลูกเสือไซเบอร์

1) เพื่อสร้างอาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์ที่มีจิตสำนึกด้านจริยธรรม คุณธรรมในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ ICT อย่างสร้างสรรค์การป้องกันตนเองจากภัยบนโลกไซเบอร์ และความปลอดภัยในโลกออนไลน์

2) เพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์ให้เป็นเครือข่ายทางสังคมที่สนับสนุนความสามัคคีภายในชาติ โดยอาสาสมัครลูกเสือไซเบอร์จะเป็นเสมือนตัวแทนของสังคมไทยที่จะเฝ้าระวังหรือสอดส่องพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศและการสื่อสาร

จากความหมายของลูกเสือไซเบอร์ข้างต้น ทำให้ลูกเสือไซเบอร์มีความแตกต่างจากลูกเสือโดยทั่วไปอยู่บ้าง ซึ่งถูกกำหนดไว้โดยบทบาทและหน้าที่เฉพาะของลูกเสือไซเบอร์ แต่ถูกผสมผสานความเป็นลูกเสือเอาไว้ ดังนั้นบทบาทและหน้าที่ของลูกเสือไซเบอร์ยังคงไว้ซึ่งความเป็นลูกเสือตามพระราชบัญญัติลูกเสือ มาตรา 8 คือ เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ (แผนประยุกต์หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำ ขั้นความรู้ชั้นสูง, 2554, หน้า 7)

ลูกเสือไซเบอร์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) มีจิตสำนึกอันดีต่อสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2) ร่วมปกป้องสถาบันหลักของชาติจากการใช้งานข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3) มีความตระหนักถึงภัยคุกคามต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4) มีความตระหนักถึงการใช้ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

5) มีความตระหนักถึงการใช้ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง เหมาะสม มีจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม

6) สามารถถ่ายทอด เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม

7) สามารถถ่ายทอด เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคาม และวิธีป้องกันตนเองจากภัยคุมคามให้แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ

ข้อปฏิบัติของลูกเสือไซเบอร์

1) ปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

2) ส่งเสริมการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์

3) สอดส่องการกระทำความผิดบนโลกไซเบอร์

4) ส่งเสริมให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

สัญลักษณ์ของลูกเสือไซเบอร์



สัญลักษณ์ของลูกเสือไซเบอร์ [14]

สัญลักษณ์ของลูกเสือไซเบอร์ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการสร้างตราสัญลักษณ์ของโครงการและเพื่อใช้ในประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ โดยองค์ประกอบต่างๆ ของตราสัญลักษณ์มีความหมายดังนี้

1) ตราสัญลักษณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติที่มีสีเหลืองทอง หมายถึง ลูกเสือไทย

2) วงกลมโค้ง ที่มีลักษณะเป็น 3 สี ประกอบด้วย

1) สีแดง หมายถึง ชาติไทยและไซเบอร์

2) สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ

3) สีขาว หมายถึง ศาสนา

3) ส่วนอักษรตัว “O” ที่มีลักษณะเป็นแว่นขยายที่เป็นการสอดส่องและการดูแล

4) เมาส์สีเหลือง หมายถึง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5) แว่นขยาย หมายถึง การสอดส่องและการดูแล

ลิงค์อ้างอิง:
วันที่: 23 มี.ค. 2560 | 15:45:36 | โดย m_jar14 | IP 118.174.7.xxx
Share
 
 
อ่าน 4,372  |  แจ้งลบ    << ย้อนกลับ
 
ร่วมแสดงความคิดเห็น
คุณต้องเป็นสมาชิกก่อนถึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นในบทความนี้ได้
 
 
ข่าวกิจกรรม : CyberScout
 
เข้าสู่ระบบ
 
E-mail
Password
 
แนะนำหลักสูตรใหม่
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ฉบับก้าวหน้า
หลักสูตรวิทยากรแกนนำฉบับก้าวหน้า จัดทำขึ้นเพื่อฝึกอบรมวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์ ให้มีความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญ และสามารถนำไปถ่ายทอด..
12 มิ.ย. 2555 | 15:10 น.
หลักสูตรวิทยากรแกนนำลูกเสือไซเบอร์
หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรแกนนำที่มีความพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดีต่อสถาบันหลักของประเทศชาติ และนำอ..
19 เม.ย. 2554 | 10:37 น.